วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Lesson 11


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
ประจำวัน  จันทร์ที่   30   พฤศจิกายน  2558
เรียนครั้งที่  11   เวลา  08.30 -12.30 น.
กลุ่ม  101  ห้อง 223



              Knowledge  (ความรู้)

                                                            ผลงานของฉัน





                                                                ผลงานของเพื่อนๆ




                    

                                              มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์







                          สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ  
เรื่อง  การรวมและการเเยกกลุ่ม



                      สาระที่  2  การวัด  
  
เรื่อง  ความยาว   น้ำหนัก  และปริมาตร


                       สาระที่  3  เรขาคณิต 

เรื่อง  รูปเรขาคณิตสามมิติ  และ  สองมิติ




                         สาระที่  4  พีชคณิต

เรื่อง  รูปแบบและความสัมพันธ์



                          สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

เรื่อง   การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ


                          สาระที่  6  ทักษะเเละกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

เรื่อง  การเก็บรวบรวมข้อมูล

          

                สรุป
                    พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก – ก่อนวัยเรียน ( อายุ 0-๖ ปี ) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรกด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ ๒ ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ ๒ – ๔ ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง ๔– ๖ ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุการณ์มากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง


                         
       

    อาจารย์ฝึกการบริหารสมอง (brain activation)













1. การบริหารปุ่มสมอง

ใช้ มือขวาวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแตะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือซ้ายวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน
ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
- ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น







ปุ่มขมับ

1. ใช้นิ้วทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที
2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน
ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
- ทำให้การทำงานของสมองทั้ง 2 ซึก ทำงานสมดุลกัน





ปุ่มใบหู 

1. ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง
2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบา ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น
ประโยชน์ของการนวดใบหู
- เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
- สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น






2. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl)

ท่าที่ 1 นับ 1-10
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10
- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
- เพื่อกระตุ้นความจำ












ท่าที่ 2 จีบ L

1. ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป
2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้างทำเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L)เช่นเดียวกับข้อ 2
4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลย์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
- เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา




ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย

1. ยกมือทั้งสองข้างให้มือขวาทำท่าโป้งโดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
3. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย
- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระย

- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด





ท่าที่ 4 แตะจมูก-แตะหู

1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
ประโยชน์ของการบริหารท่า แตะจมูก-แตะหู
- ช่วยให้มองเห็นภาพด้านซ้ายและขวาดีขึ้น





ท่าที่ 5 แตะหู

1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวาส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย,แตะจมูก-แตะหู,แตะหู
- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด





 

3. การผ่อนคลาย

ยื่นใช้มือ ทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบา ๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 5-10 นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
- ทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ







     อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี  (รางวัลชมเชย)







                       Teach Techniques  (เทคนิคการสอน)
                            - เทคนิคการยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
                            - เทคนิคการเสริมเเรง                
                            - ใช้คำถาม เพลง และเกม ในการกระตุ้นผู้เรียน
                       

                      Application (การประยุกต์ใช้)
                                  นำไปใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้า่งของเด็กให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการให้เด็กได้ลงทำเเละคิดด้วยตนเอง


                      The skills    (ทักษะที่ได้)
                         - ทักษะการคิดสร้างสรรค์
                         - การลงมือปฏิบัติ


                    Teaching Evaluation   (ประเมินการสอน)
                         self : มาเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
                         Friends : มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟัง  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
                        Teachers : เข้าสอนตรงเวลา   แต่งกายสุภาพ  สอนไม่น่าเบื่ออาจารย์มีเทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน  อธิบายเเละได้เข้าใจง่าย และมีการแสดงตัวอย่างให้เห็น


                    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น