วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

Lesson 2


                 
บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
ประจำวัน  จันทร์ที่ 24 สิงหาคม  2558
เรียนครั้งที่  2  เวลา  08.30 -12.30 น.
กลุ่ม  101  ห้อง 223


         Knowledge  (ความรู้)

1.กิจกรรมรถไฟเหาะแห่งชีวิต
        มีคำถาม 5 คำถาม 
        1.ถ้าสมมติไปเที่ยวสวนสนุกแล้วเจอคนเข้าแถวรอเล่นรถไฟเหาะยาวมา เราคิดว่าจะต้องรอกี่นาทีถึงจะได้เล่น?
        2.ในขณะที่เราเล่นรถไฟเหาะเรารู้สึกอย่างไร?
        3.ถ้ารถไฟเหาะลงน้ำถือเป็นจุดที่เสียวที่สุดเราจะรู้สึกอย่างไร?
        4.ถ้าเราเล่นม้าหมุนแล้วม้าตัวนั้นเสียเราจะรู้สึกอย่างไร?
        5.ให้เราวาดรูปรถไฟเหาะที่สนุกที่สุด?

2. เรียนใน Power Point 
         ความหมายของความคิดสร้างสรรค์   
             - กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญญาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
          คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
              - คุณค่าต่อสังคม
              - คุณค่าต่อตนเอง
              - ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
              - ช่วยหลดความเครียดทางอารมณ์
              - ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
              - พัฒนากล้ามเนื้อมือ
              - เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
          องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
              - ความคิดคล่องเเคล่ว (Fluency)
              - ความคิดริเริ่ม (Originality)
              - ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
              - ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
          พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
              Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
                  - ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
                  - ระยะ 2 -4 ขวบ
                  - ระยะ 4-6 ขวบ
         ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
               Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
                   - ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
                   - ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
                   - ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
                   - ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
                   - ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
         ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
                   - ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
                   - อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
                   - ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
                   - ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
                   - ช่วยให้ปรับตัวได้ดี



3. กิจกรรมเครื่อมบินกระดาษ
        อาจารย์แจกกระดาษให้พับจรวดคนละอัน แล้วนำไปร่อนให้ลงกล่อง
    



         4. ร้องเพลง



                                                        Incy Wincy spider

   
                                                      I love you love me 


5. กิจกรรมเส้นและจุด
       - อาจารย์ให้จับคู่และเเจกกระดาษคู่ละ 1 แผ่น สีเทียนคนละ 1 แท่ง
       - โดยให้คนหนึ่งเป็นเส้น อีกคนเป็นจุด อาจารย์เปิดเพลงแล้วให้คนที่เป็นจุดลากเส้นไปตามจังหวะเพลง ส่วนคนที่เป็นจุดก็จุดตรงเส้นที่เป็นวงกลม
       - เมื่อเพลงจบให้คิดจินตนาการว่าให้เส้นที่เราวาดและจุดเป็นรูปอะไรได้บ้างตามจิตนาการ
       - เเสดงผลงานและออกมานำเสนอผลงานของตังเอง
       - อาจารย์พูดคุยและสรุปกิจกรรม







สรุป
     เราไม่ควรตีกรอบในการวาดรูปหรือทำกิจกรรมต่างๆกับเด็ก เราควรให้เด็กให้จิตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอย่างเต็มที่ ให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เรามีหน้าที่คอยสังเกตเด็กว่าเด็กแต่ละคนมีลักษณะอย่างไร และคอยสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก และที่สำคัญเราไม่ควรตำหนิในผลงานของเด็ก

  

       Teach Techniques  (เทคนิคการสอน)
           - เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
           - ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ
           - ใช้คำถามในกรากระตุ้นผู้เรียน

      Application (การประยุกต์ใช้)
           นำความรู้่ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง

     The skills    (ทักษะที่ได้)
           - ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
           - ทักษะการสร้างสรรค์
          
    Teaching Evaluation   (ประเมินการสอน)
          self : มาเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
          Friends : มาเรียนตรงเวลาแต่มีเพื่อนบ้างคนที่มาสายให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
          Teachers : เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย





      
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น